คัมภีร์ยอดอมตะ
โดย ธนรัตน์ ยงวานิชจิต
ทำไมผู้คนสมัยใหม่สื่อสารด้วยระบบดิจิทัล จึงน่าจะทำความรู้จักเพิ่มเติมกับคัมภีร์ยอดอมตะเล่มนี้?
ปรมาจารย์เล่าจื้อ ผู้อยู่ร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เป็นผู้เขียนคัีมภีร์ยอดอมตะชื่อว่า “เต๋าเต็กเก็ง” เมื่อราว 26 ศตวรรษก่อน
“เต๋า” คือ “เส้นทาง” เต็ก..คุณธรรม เก็ง..หนังสือ ชื่อคัมภีร์หมายถึง
“คัมภีร์เส้นทางชีวิตกับคุณธรรม”
คัมภีร์เต๋าได้แตกกิ่งออกเป็นเซนพุทธ และมีสาระที่คู่ขนานกับพระธรรมและส่วนที่สองของพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
ซึ่้งบรรยายถึงชีวิตและการเทศนาของพระเยซูเจ้า
สังเกตได้ว่า คัมภีร์เต๋็ามีข้อแตกต่างสำคัญจากพระคัมภีร์คริสต์
ฮินดู หรืออิสลาม ตรงที่พระคัมภีร์เหล่านี้ ได้กำหนดเส้นทางชีวิตที่ถาวรตายตัวเป็นมั่นเหมาะไว้แล้ว
เสมือนทางหลวงใหญ่ที่ถูกสร้างไว้ก่อน เพื่อให้เราได้ใช้อย่างสะดวกสบาย เพียงแต่เคลื่อนตามกลุ่มไปเรื่อยๆ
เราก็จะถึง “จุดหมายปลายทาง” เอง
ตรงกันข้าม “เต๋า” เป็นเส้นทางที่
“ไร้” อัตตา จุดหมายปลายทาง นิพพาน สวรรค์ การรู้แจ้งเห็นจริง
ตลอดจนชาติหน้าโดยสิ้นเชิง เต๋า “เป็นอยู่” ในภาวะ “เรียบง่าย” และ
“จรวิสัย” คือ ไม่ถูกขีดเส้นไว้ล่วงหน้า โดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ปาฏิหารย์ ดวงชะตาราศี หรือพรหม ลิขิต เต๋ายอมรับนับถือเอกลักษณ์และเสรีภาพส่วนบุคคล
แต่ไม่ยอมรับนับถือการเกาะกันเป็นกลุ่มและ การเอาอย่างกัน ราวกับว่าเต๋ามี “อำนาจเร้นลับ” ที่คุ้มครองเราอยู่
เต๋าเปรียบได้กับเส้นทางบินของนกที่กำลังกระพือปีกบินอยู่บนท้องฟ้า
เมื่อได้ศึกษาจนเข้าใจคัมภีร์เต๋าอย่างถ่องแท้และนำไปถือปฏิบัติแล้ว
เราจะมี “เต๋าประจำตัวของเราเอง” ซึ่งรักษา “ความสมดุล” ในตัวเราไว้ในขณะที่ใช้ชีวิต “เป็นอยู่” กับเต๋า อย่างไรก็ดี บางคนอาจรู้จักและเป็นอยู่กับเต๋ามาแต่กำเนิดโดยมิรู้ตัว ก็ได้
จักรวาลได้เกิดและ “เป็นอยู่” กับ
“ความสมดุล” มานานกว่า 13,800 ล้านปีแล้ว ฉะนั้น เมื่อความสมดุลของโลกถูกทำลายไป การเป็นอยู่ของเราก็จะประสบปัญหา
นักชีววิทยาทางทะเลพบว่า แมงกะพรุนที่มีพิษฆ่า คนได้ภายใน 2-3 นาที กำลังมีเพิ่มขึ้นสุดขีดติดต่อกัน
ใน 5 ปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากปลาใหญ่ที่กิน แมงกะพรุนทั้งหลาย
ได้ลดน้อยลงอย่างรวดเร็วติดต่อกันมา่นาน เนื่องจากถูกทุนสามานย์จับไปขายเชิงอุตสาหกรรมจนขาดความสมดุลในทะเล ยิ่งกว่านั้น แมงกะพรุนร้ายเหล่านี้กำลังทำให้ปลาแซลมอนและอื่นๆที่เป็นอาหารของเรา
ลดน้อยลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย
แก่นของ “เต๋า” คือ “จิตหนึ่ง” ที่ปรากฏออกมา เป็นคู่ๆ: ฟ้า-ดิน หญิง-ชาย หยิง-หยาง ให้-รับ รวย-จน กลางวัน-กลางคืน จิต-กาย เกิด-ตาย ร้อน-หนาว สุข-ทุกข์ ตน-ผู้อื่น
มิตร-ศัตรู รัก-เกลียด ฯลฯ
ในขณะที่เราใช้ชีวิตกับคู่ธรรมชาติต่างๆดังกล่าว “จิตหนึ่ง” ก็ป้อนพลังให้เรา “เป็นอยู่” กับความสงบสุขโดยทันที คือ มิต้องรอให้ถึง “วันหน้า”
“ชาติหน้า” หรือ “จุดหมายปลายทาง”
ในอนาคตก่อน
เมื่อเต๋าเป็นเส้นทางที่อำนวยความสงบสุขแก่เราแล้ว
จุดหมายปลายทางก็ย่อมไร้ความหมาย
จริงๆแล้ว คู่้ธรรมชาติดังกล่าวไม่ได้อยู่ตรงข้ามกันเลย แต่กลับเสนอสนองกัน
พึ่งพิงกัน ตลอดจนเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน ดังเช่นคู่แมลงผึ้งกับดอกไม้
คัมภีร์เต๋ากล่าวถึงคู่ “ฟ้า-ดิน” ไว้ว่า “สวรรค์กับพิภพอยู่ได้ชั่วนิรันดร ด้วยต่างมิได้แยกกันอยู่เพื่อตัวเอง” คือ ฟ้าดินทำ “การบูรณาการ” เข้าด้วยกัน
พึ่งพิงกัน อย่างคู่ “กลางวัน-กลางคืน”
ที่ผนึกกันเป็น “หนึ่งเดียวกัน” ของ 24 ชั่วโมง
ปรมาจารย์ยุทธศาสตร์สงครามซุนจื้อ สมัยหลังพระพุทธเจ้าเล็กน้อย
ได้ประยุกต์ “การบูรณาการ” ดังกล่าวเข้าเป็น “กฎศีลธรรม” ที่นายพลต้องเรียนรู้ในตำราพิชัยสงครามของตน
ชื่อว่า “ศิลปการสงคราม” อนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนและนายพลทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ในสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา
ได้ทดสอบตำรานี้ในสมรภูมิจนประสบชัยชนะกันมาแล้ว
คัมภีร์เต๋าเขียนด้วยอักษรจีนโบราณราว
5,000 คำ
ในรูปบทกลอนสั้นๆ แต่จุความ มากมีด้วยสาระล้ำลึก ยิ่ง:“นามที่บ่งบอกได้มิใช่นามที่ทรงความถาวรตายตัว
นามที่บ่งบอกไม่ได้คือผู้ให้กำเนิดความกว้างใหญ่ไพศาล นามที่บ่งบอกได้คือมารดาผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่งทั้งปวง”
เมื่อเราสมมตินามชื่อขึ้นมาเพื่อแยกแยะ “ผู้คนความคิดวัตถุ”
ออกจากกัน ชื่อที่เรากำหนดไว้แน่นอนก็กลายเป็น “ภาพนิ่ง” ที่สื่อให้เราหลงผิดมองเห็นแต่ภาวะ
“ถาวรไม่จริง” ของชื่อกับเจ้าของชื่อผู้สะกดชื่อด้วยอักษรตัวเดิมตลอด
เราจึงไม่เห็นภาวะ “ไม่ถาวรจริง” ของเจ้าของชื่อผู้แปรเปลี่ยนตามวัยวุฒิ
คุณวุฒิ วุฒิภาวะ ตลอดจนประสบการณ์ส่วนตัวไปเรื่อยๆ ส่วนนามที่บ่งบอกไม่ได้คือประสบ การณ์ภายในตัวเราที่เราไม่สามารถสื่อออกมาเป็นถ้อยคำได้ถูกต้องครบถ้วน
คัมภีร์เต๋าอุดมด้วยสาระพึงใฝ่ใจ:“อย่าเิทิดทูนผู้ทำได้สำเร็จ
เพื่อผู้คนไม่โต้แย้งกัน อย่าตีราคาสูงส่งให้กับสิ่งที่หาได้ยาก เพื่อผู้คนไม่เป็นโจร
บัณฑิตพึงทำจิตให้ว่าง ดูแลท้องให้อิ่ม เลิกทะเยอทะยาน ให้กระดูกแข็งแกร่งไว้” จงระวังความอิจฉาริษยากับกิเลส ทำจิตให้ว่างกับรักษาสุขภาพ
และให้อ่อนนอกแต่แข็งในไว้
คัมภีร์เต๋า่ยังมีสาระล้ำลึกเชิงปฏิทรรศน์:“เมื่อตระหนักดีว่าเราไม่มีอะไรขาดเหลือแล้ว
โลกนี้ทั้งโลกเป็นของเราทันที..ใจที่ให้ มีแต่ได้รับ..กฎหมายยิ่งมาก โจรยิ่งชุึม..คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้..” ยิ่งไม่อยากได้ก็ยิ่งได้ ยิ่งอยากได้(ระเบียบ)ก็ยิ่งไม่ได้(ระเบียบ)
ยิ่งไม่อวดรู้ก็ยิ่งไม่โง่ ยิ่งอวดรู้ก็ยิ่งโง่
จุดเด่นคัมภีร์เต๋าอยู่ที่บทปุจฉาวิสัชนาน่าสนใจ: “ชื่อเสียงกับสุขภาพ อะไรสำคัึญกว่ากัน? สุขภาพกับสมบัติ
อะไรมีคุณค่ากว่ากัน? กำไรกับขาดทุน อะไรวิบัติกว่ากัน?”
ท่านเล่้าจื้อวิสัชนาว่า “ลุ่มหลงตนมากก็ลงทุนมาก
โลภมหันต์ก็สูญมหันต์ รู้จักพอเพียงก็พ้นเสื่่อมเสีย รู้จักหยุดยั้งก็ปลอดภัย นี่คือเต๋็าแห่งทางอยู่รอด” ชื่อเสียงเงินทองไม่สามารถอำนวยความมั่นคงปลอดภัยหรือความสงบสุขให้แก่เราได้เลย
โลภโมโทสันสู่กำไร/ขาดทุนคือความวิบัติหายนะ และสุขภาพคือคุณค่าที่ยัง “เป็นอยู่” กับชีวิตเรา
องค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณพุทธทิเบตองค์ที่ 14 ทรงให้สัมภาษณ์สื่อไว้ว่า
“เพื่อนชาวอเมริกันร่ำรวยหลายพันล้านดอลลาร์คนหนึ่ง ได้สารภาพกับข้าพเจ้าไว้ว่า
เงินทองทั้งหมดที่เขามีอยู่ ไม่ได้อำนวยความสงบสุขให้แก่เขาเลย”
ความโลภโมโทสันเงินทองยังก่อให้เกิดปัญหานานัปการ อาทิ
“ความเหลื่อมล้ำ”
ทางรายได้ในสังคม นิตยสารบลูมเบิรค์รายงานว่า
ในปี 2556 บรรดาประธานบริหารกิจการขนาดใหญ่ ได้รับค่าจ้างมากเป็น
205 เท่าของพนักงานระดับทั่้วไป โดยเพิ่มขึ้นอีก 20% จากปี 2552 ด้วยซ้ำไป ส่วนเงินบำนาญอีกชุดหนึ่งของประธานฯ
ก็ได้เติบโตเป็น 200-300 เท่า ของพนักงานทั่วไป
บลูมเบิรค์เปิดเผยว่า ในปี 2557 ประธานฯเกรก
สไตน์เฮเฟลแห่งกิจการขายปลีกยักษ์ใหญ่ทาร์เก็ต สหรัฐฯ พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุข้อมูลเครดิตการ์ดลูกค้านับล้านคนรั่วไหลออกไป
แต่ก็ยังได้รับเงินเฉพาะบำนาญอย่างเดียวรวมถึง $47 ล้านเหรียญ
นับเป็น 1,044 เท่า ของพนักงานทั่วไป
คัมภีร์เต๋าในบทที่ 53 ประนามผู้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมไว้ว่า
“มิใยท้องนาถูกทอดทิ้งและยุ้งข้าวอยู่ว่างเปล่า..ผู้ปกครองบ้านเมืองก็ยังประดับตัวด้วยอาภรณ์วิจิตร..กระชับด้วยพระขรรค์สง่างาม..
เฉลิมฉลองด้วยสุราอาหารฟุ่มเฟือย..สะสมความมั่งคั่งส่วนตัวต่อไป..นี่คือการกระทำอย่างโจรมหาโจร..ที่มิได้เป็นอยู่กับเต๋า” นักการเมืองที่โกงกินขายชาติบ้านเมืองพึงสำเหนียกบทนี้ไว้
เต๋าคือเส้นทางที่ “เป็นอยู่” ใน
“ความสมดุล” กับคู่ “รวย-จน” สู่ “ความรู้สึกพอเพียง”
ตรงข้ามกับ “เส้นทางวัตถุเงินทองนิยม” ที่ชักนำให้เราหลงผิดมุ่ง “มี” อย่างหนูตะเภาที่วิ่งแข่งกันในเส้นทางวกวน เพียงเพื่อให้ “มี” วัตถุเงินทองอย่างไม่น้อยหน้าชาวบ้านและตาม “โลภโกรธหลง” แห่งอัตตา มิใยความวิบัติเบื้องหน้า
ดังเห็นได้จากจากโรงพยาบาลและเรือนจำที่รัฐสร้างได้ไม่ทัีนกับความต้องการของสังคมวัตถุเงินทองนิยมในปัจจุบัน
ท่านเล่าจื้อฝากข้อคิดไว้ว่า “เป็นอยู่กับอดีตก็โศรกซึม
เป็นอยู่กับอนาคตก็วิตกกังวล เป็นอยู่กับปัจจุบันก็สงบสุข”
เมื่อออกจากเต๋าไป “เป็นอยู่” กับอดีตหรืออนาคตกาล เราก็รู้สึก
โศรกซึมหรือวิตกกังวล ซึ่งเป็นอาการโรคจิตผิดกฎแห่งธรรมชาติ และสูญสิ้นพลังกับความห้าวหาญที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิตให้ลุล่วงไปตามธรรมชาติ
แต่เมื่ออยู่กับเต๋าและ “เป็นอยู่” กับปัจจุบันกาล
เราเห็น “จิตหนึ่ง” “พุทธะ” ทันที รู้สึกสงบสุขกลมกลืนกับกฎแห่งธรรมชาติ และมีพลังกับความห้าวหาญดังกล่าว นี่คือ “อำนาจเร้นลับ”
ของเต๋าที่คุ้มครองเราอยู่ตลอดเวลา
“ชีวิตเต๋า” เปรียบได้กับ
“สายน้ำ” ที่ “เป็นอยู่”
อย่างเพศหญิง อ่่อนนอกแต่แข็งใน ไหลเทไปอำนวยประโยชน์ต่อโลก
มิเคยพักเพื่อวิวาท มุ่งค้นหาทางรอดผ่านรูเข็มในโขดหิน
โอบรอบแผ่นดินให้เป็นเกาะ กระโจนจากผาสูงอย่างห้าวหาญ
ลอยตัวลงไปกระแทกแผ่นหินแข็งแกร่งเบื้องล่าง แตกกระจายเป็นฟอง รวมตัวกันไหลเทต่อไป
จวบจนสิ้นสุดพลังในมหาสมุทร โดยมิได้นำสิ่งหนึ่งใดติดตัวมาด้วยแม้แต่ชิ้นเดียว
“ชีิวิตไร้เต๋า” เปรียบได้กับชีวิตที่กำลังถูกโลภโกรธหลงภายในตัวเรา
ปล้นจี้บงการเราอยู่ เราจึงต้องปลดแอกตัวเองตามวิถีทางและด้วยความตั้งใจ จริงของตัวเอง
เพื่อจะได้กลับไป “เป็นอยู่” กับเต๋า อย่างเมื่อแรกเกิด
ทำไมผู้คนนับแต่โบราณกาลจึงยกย่องเต๋า? ท่านเล่าจื้อตอบว่า
“ผู้ไม่รู้ย่อมหยั่งรู้ได้จากเต๋า ผู้ทำผิดย่อมพ้นผิดจากเต๋า” เต๋าคือจิตตื่นรู้เชิง อัชฌัตติกญาณหรือจิตรู้เอง เป็นการหยั่งรู้ที่เหนือกว่าความรู้ที่วัดตวงด้วย ปริญญาบัตร
เมื่ออยู่นอกเต๋าหรือไร้จิตตื่นรู้ฯ เราย่อมทำผิดกฎแห่งธรรมชาติได้
แต่เต๋าก็ไม่ถือโทษ คือ เรา “เป็นอยู่” กับเต๋าได้ทุกเมื่อ
แม้ไม่ได้เป็นศาสนามาแต่เดิม ลัทธิเต๋าคือศูนย์กลางของศาสนาทั้งปวง
และเป็นทางออกของมนุษยชาติทุกยุคสมัีย สู่การเป็นอยู่ในความสมดุลและความสงบสุขที่แท้จริง
อันเป็นยอดปรารถนาของชาวโลกทั้งปวง.