เปาบุ้นจิ้น
ผู้พิพากษาตงฉิน
โดย ธนรัตน์ ยงวานิชจิต
dhanarat333@gmail.com
“เปาเส็ง” (พ.ศ.1542-พ.ศ.1605) เป็นข้าราชการ
และผู้พิพากษาโด่งดังที่สุดในราชวงศ์ซ้อง
นายเดวิดวู แห่งวารสารเอเปิคไทมส์ ได้เขียนประวัติสั้นๆของท่าน เปาไว้
มีสาระน่าสนใจ ดังนี้
ระหว่างรับราชการ ท่านเปาขับเคี่ยวกับคดีฉ้อ ราษฏร์บังหลวงด้วยความห้าวหาญ โดยสามารถ พิพากษาคดีสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน
และนำผู้ละเมิด กฎหมายตัวจริงมาลงโทษได้สำเร็จ เช่น ท่านเปาได้ พิพากษาลงโทษผู้ว่าราชการจังหวัดกังฉินทั้งหลาย
และญาติโยมทั้งปวงของข้าราชการชั้นสูงในคดีละเมิดสิทธิชาวบ้าน ตลอดจนบรรดาพ่อค้าร้อยเล่ห์พัน เหลี่ยมที่พยายามหลีกเลี่ยงกฏหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ท่านเปาไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆทั้งสิ้น
ท่านเปาไ้ด้รับความนับถือและความนิยมชมชอบอย่างกว้างขวางจากราษฏรในภูมิภาคที่ท่านรับราชการอยู่
อุปนิสัียใจคอแบบตรงไปตรงมา ไร้อัตตา
ตลอดจน การพิจารณาคดีความอย่างเที่ยงธรรม
ส่งผลให้ท่านได้ รับการขนานนามว่า “เปาชิ้งเถียน” หรือ “เปาฟ้าใส” โดยเป็นที่รู้จักกันในไทยว่า “เปาบุ้นจิ้น”
สมัยนั้น ข้าราชการฝ่ายกฎหมายและในวังนิยมใช้มาตรการทรมานร่างกาย เพื่อบีบคั้นให้ผู้ถูกกล่าวหา ยอมรัีบผิด ทั้งที่ไม่ผิด ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาที่บริสุทธิ์ หลายคนถูกพิพากษาลงโทษผิดตัวฟรีๆ
ท่านเปามุ่งแก้ปัญหาต่างๆที่ชาวบ้านหรือขุนนาง ได้ก่อไว้ ด้วยการใช้สติปัญญาอันหลักแหลม การคิดที่ เถรตรงแบบไม้บันทัด การสืบสวนสอบสวนอย่างทะลุ ปรุโปร่ง การสังเกตพฤติกรรมคู่กรณีอย่างใกล้ชิด การประยุกต์วิชาความรู้ การใช้ไหวพริบเฉียบไว
ตลอดจนการมีความอดทนอดกลั้นทั้งปวง
โดยมิได้ใช้มาตรการทรมานจำเลย อย่างที่ข้าราชการคนอื่นๆทำกันอยู่แต่อย่างใด
ทั้งนี้ ส่งผลให้ท่านเปามีชื่อเสียงเป็นผู้พิพากษาที่สามารถขบเงื่อนงำในคดีความต่างๆได้แตกหมด
จนเป็นที่เลื่องลือว่าท่านเปาคือนักสืบชาวจีนคนแรกที่น่าจะโด่งดังที่สุดในตำนานจีน
ทุกวันนี้ เรามักเห็นท่านเปาออกมาเป็นตัวละครบน เวทีการแสดงต่างๆ โดยได้รับการตบแต่งหน้าด้วยสีดำ ให้แลดูเคร่งขรึม มีรูปปานเป็นพระจันทร์เสี้ยวติดอยู่บนหน้าผาก
และมีผู้เก่งกาจทางศิลปการต่อสู้ยืนอยู่ข้างๆ
ท่านเปาถือกำเนิดมาในครอบครัวที่คงแก่เรียน ในวัยเด็ก
ท่านขยันเล่าเรียนเขียนอ่านมาก เมื่ออายุได้
29 ปี ท่านสามารถสอบผ่านข้อสอบคัดเลือกข้าราช การได้หมดทุกระดับ จนได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งจากพระมหาจักรพรรดิ ให้เป็นข้าราชการระดับเทศมณฑล
ซึ่งเล็กกว่าจังหวัดแต่ใหญ่กว่าตัวเมือง
ในขณะเริ่มรับราชการ
บิดามารดาผู้สูงอายุของท่านเปาก็กำลังประสบปัญหาสุขภาพทรุดโทรม ล้มป่วยเป็นประจำ ด้วยจิตกตัญญูกตเวทีต่อพระคุณ
บิดามารดา ท่านเปาตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งอันทรงเกียรติ ย้ายถิ่นฐานกลับบ้านไปดูแลทั้งสองท่านอยู่เกือบสิบปี
จวบจนท่านสิ้นลมหายใจ
หลังจากที่ได้ทำหน้าที่บุตรกตัญญูแล้ว
ท่านเปาก็กลับเข้ารับราชการอีก และด้วยความฉลาดสุขุมรอบคอบที่มีอยู่แล้ว
ท่านเปาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นข้าราชการฝ่ายกฎหมายในเมืองหลวงของราชวงศ์ซ้อง
ชื่อว่า “เมืองไคฟอง” ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านช่องของเหล่าขุนนางและตระกูลทรงอำนาจอิทธิพลทั้งหลายทั้งปวง
กระนั้นก็ตาม ท่านเปามิได้หวั่นใจ
กลับลงมือปฏิรูปโครงสร้างหน้าที่ฝ่ายตุลาการอย่างจริงจัง จนเมืองไคฟองมีระบบระเบียบสำหรับดำเนินคดีอย่างเป็น
กิจจะลักษณะได้ภายในเวลาหนึ่งปี
เดิมที
โจทก์ต้องเขียนขอความยุติธรรมบนแผ่น กระดาษและยื่นคำร้องต่อเลขานุการศาล
เพื่อรับฟ้อง แต่บ่อยครั้ง ตระกูลทรงอำนาจอิทธิพลผู้ตกเป็นจำเลย นิยมติดสินบนเลขาฯ
เพื่อใ้ห้ล้มคดี
ท่านเปาปฏิรูประบบตุลาการใหม่หมด อนุโลมให้ฟ้องร้องต่อศาลด้วยปากเปล่าได้
โดยไม่ต้องยื่นแผ่นคำร้องใดๆ ชาวบ้านยากจนด้อยการศึกษาก็สามารถหลุดรอดจากมือมืดบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยข้าราชการชั่วรับสินบน
ตัวบทกฎหมายในเมืองหลวงก็เริ่มมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ท่านเปาจึงได้รับสมญานามต่อมาว่า
“ผู้พิพากษาหน้าเหล็ก”
ครั้งหนึ่ง เมืองไคฟองถูกน้ำท่วม
ชาวบ้านชาวเมืองเดือดร้อนกันทั่ว ท่านเปาสอบสวนแล้วพบว่า สาเหตุเกิดจากการที่บรรดาตระกูลทรงอำนาจอิทธิพล
ได้สร้างสวนหย่อนใจและศาลาใหญ่โตคร่อมแม่น้ำไว้โดยผิดกฎหมาย ทำให้น้ำส่วนต้นของแม่น้ำไหลล้นขึ้นทั้งสองฝั่ง
ท่วมบ้านราษฏรใกล้เคียง ก่อให้เกิดความเสียหายเดือนร้อนกันทั่ว
ท่านเปาออกคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยทันที
และขีดเส้นตายวันรื้อถอนไว้ด้วย ทว่า เจ้าของสิ่งปลูกสร้างรายหนึ่งกลับนิ่งเฉย
ไม่ใยดีต่อ คำสั่งศาล ท่านเปาก็เชิญมาสอบถาม ส่วนเจ้าของฯ ก็ตอบรับด้วยการยื่นเอกสารโฉนดที่ดินแสดงตนเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โดยชอบ
เมื่อประสบกับหลักฐานพยานเอกสาร
ซึ่งโดยทั่วไปหนักแน่นกว่าพยานบุคคล ท่านเปากลับไม่ย่อท้อ พยายามทบทวนดูโฉนดที่ดินใบนั้นทุกตารางนิ้ว
จน พบจุดบกพร่องจุดหนึ่งที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นโฉนดปลอม
ท่านเปาออกคำสั่งซ้ำสองให้่เจ้าของโฉนดปลอมทำการรื้อถอนสวนหย่อนใจโดยทันที
ในขณะเดียวกัน ท่านก็ออกเดินทางไปขอเข้าเฝ้าองค์พระมหาจักรพรรดิ์
เพื่อถวายบัีงคมทูลคดีโฉนดปลอมแด่พระองค์ โดย มิสนใจต่อการทักท้วงโต้แย้งแข็งขันจากตระกูลทรงอำนาจอิทธิพล
ต่อมาอีกมิช้านาน การรื้อถอนสวนหย่อนใจนั้นก็เกิดขึ้น ในที่สุด ปัญหาน้ำท่วมก็จบสิ้นไป
ท่านเปาเป็นผู้มีระเีบียบวินัยเข้มแข็ง
กอปรด้วยความซื่อตรงและเที่ยงธรรมต่อทุกคน ครั้งหนึ่ง ลุงของท่านเปาได้ฝ่าฝืนกฎหมายและถูกผู้เสียหายฟ้องร้องในศาล
ท่านเปาออกคำสั่งเรียกลุงผู้ไม่เคารพกฎหมายมาสอบสวนที่ศาล แล้วให้เจ้าพนักงานศาลใช้ไม้หวายฟาดตีบนตัวคุณลุงของตน
100 ครั้ง เพื่อลงโทษให้เข็ดหลาบ
ท่านเปาเข้มงวดกวดขัีนกับครอบครัวตนเองอยู่เสมอ
แม้จะอยู่ในตำแหน่งข้าราชการชั้นสูง ท่านเปาก็ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเรียบง่าย ลูกๆก็รู้จักประหยัดมัธยัสถ์
ใช้แต่เสื้อผ้าเรียบง่าย ยกเว้นกรณีไปเยี่ยมเพื่อนฝูงหรืองานสมาคมสังสรรค์
เมื่อไม่มี “จิตนิยมในวัตถุเงินทอง” ท่านเปาก็ใช้ชีวิตแบบพอเพียงเรียบง่าย
ไม่ห่วงใยกับการที่จะต้องพลัดพรากจากสรรพสิ่งนอกกาย เพราะมี “จิตนิยมในคุณธรรม” ที่เสริมสร้างความหมายแท้จริงให้กับชีวิต
ด้วยการยืนหยัดพิทักษ์กฎหมายบ้านเมืองอย่างจริงจัง จนกลายเป็น “วีรบุรุษ” ผู้ปราบปรามข้าราชการกังฉินและตระกูลทรงอำนาจอิทธิพลที่สุมหัวกันละเมิดสิทธิ์
เบียดเบียนราษฏรทั่วไป ราวกับว่าบ้านเมืองนี้เป็น “เมืองเถื่อน”
และ “เมืองขึ้น” ต่อ “เงินทองกับอำนาจมืด” ของข้าฯคนเดียว
เมื่อย่างเข้าวัยชรา ท่านเปาตั้งกฎเหล็กไว้กับลูกๆ
ว่า “หากลูกๆเข้ารับราชการแล้วฝ่าฝืนกฎหมายหรือฉ้อ ราษฏร์บังหลวง
พ่อจักไม่อนุญาตให้กลับไปอยู่บ้านเกิด และไม่ให้ใช้สุสานของวงศ์ตระกูลเป็นที่ฝังศพตัวเอง
ความเป็นพ่อลูกจักขาดออกจากกันทัีนที”
ในที่สุด
ท่านเปาก็ถึงแก่อนิจกรรม ลูกๆต่างจำเริญรอยตามพ่อ สามารถสอบผ่านข้อสอบคัดเลือกข้าราชการ
มีโอกาสเข้ารับราชการ สะท้อนให้เห็น การมีคุณธรรมทั้งหลายของผู้เป็นพ่อ และได้รับคำชื่นชมโดยทั่วกันว่า
เป็นข้าราชการที่กอปรด้วยคุณธรรมแห่งความซื่อสัตย์และความเที่ยงธรรมเยี่ยงท่านเปา แบบ
“ผลไม้ตกไม่ไกลต้น”
จากการอุทิศตนอย่างไม่ย่อท้อต่อการธำรงรักษาความศักดิ์สิทธ์ของกฎหมายบ้านเมืองไว้
ท่านเปาได้กลายเป็นอนุสรณ์แห่งความยุติธรรมและการลงโทษเพื่อความยุติธรรมในหมู่ชนชาติภูมิภาคตะวันออกไกล
เป็นที่ประจักษ์ชัดเมื่อพันกว่าปีมาแล้วว่า ตัวบทกฎหมายก็คือ “เสือกระดาษ”
ดีๆนั่นเอง หากปราศจากผู้ พิพากษาตงฉินผู้กอปรด้วยคุณธรรมเยี่ยงท่านเปา
เห็นได้ว่า ท่านเปาทำงานด้วย “อิทธิบาทสี่”
คือ มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสาอย่างแท้จริง.
No comments:
Post a Comment