Tuesday, February 17, 2015

เคล็ดลับมองโลก
โดย ธนรัตน์ ยงวานิชจิต
dhanarat333@gmail.com

 อาจารย์จวงจื้อ (.. 174-257) เป็นปราชญ์แห่งลัทธิเต๋าที่ปรมาจารย์เล่าจื้อได้วางรากฐานไว้ คัมภีร์เต๋าเต็กเก็งอมตะของท่านเล่าจื้อมีสาระที่คู่ขนานกับพระธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างน่าพิศวงยิ่ง ท่านจวงจื้อจึงมี เคล็ดลับในการมองโลกที่น่าสนใจทีเดียว

วันหนึ่ง ขณะเดินทางผ่านป่าละเมาะ ท่านจวงจื้อกับกลุ่มลูกศิษย์พบต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ยืนโดดเดี่ยวแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นบริเวณกว้างอยู่กลางทุ่ง แต่มีลำต้น กิ่งก้านคดงอบิดเบี้ยวเป็นท่อนสั้นๆตลอดทั้งต้น

        ดูซิ ต้นคดงอไร้ประโยชน์ เนื้อไม้ไม่ตรงยาวพอที่จะเอาไปสร้างบ้านทำเตียงโต๊ะเก้าอี้ได้ ชาวบ้านจึงไม่ตัดโค่นท่านจวงจื้อชี้ให้เห็นเหตุผลอยู่รอดของต้นไม้นี้ แล้วนำลูกศิษย์ไปเยี่ยมเยือนเพื่อนเก่าแก่คนหนึ่งในหมู่บ้าน

หลังจากที่ได้ทักทายอาคันตุกะด้วยความตื่นเต้นยินดียิ่ง เพื่อนก็สั่งลูกชายคนโตให้หุงหาอาหารต้อนรับขับสู้คณะผู้มาเยือนทันที

พ่อ..มีห่านอยู่สองตัว ตัวหนึ่งทำเสียงร้องได้ อีกตัวร้องไม่ได้ พ่อให้เอาห่านตัวไหนทำกับข้าวดีฮะ?”

เอาห่านที่ร้องไม่ได้ซิลูก เืมื่อร้องไม่ได้แล้วจะมีประโยชน์อะไรล่ะ?

วันรุ่งขึ้น หลังจากที่ได้ขบคิดเหตุการณ์เกี่ยวกับต้นไม้และห่าน บรรดาลูกศิษย์ก็ขอหารือกับท่านจวงจื้อ

ท่านอาจารย์ที่เคารพ ต้นไม้คดงอไร้ประโยชน์ จึงอยู่รอด ส่วนห่านร้องไม่ได้ก็ไร้ประโยชน์ กลับไม่อยู่รอด ท่านมีจุดยืนประการใดต่อ มีประโยชน์กับไร้ประโยชน์ ขอรับ?”

ต้นคดงอใช้ทำอะไรไม่ได้มากไร้ประโยชน์ก็จริง แต่มีใบไม้แผ่กระจายร่มเงาให้ผู้คนได้รับประโยชน์พักร้อนจากแสงแดดแรงกล้า ห่านร้องไม่ได้ไร้ประโยชน์ก็จริง แต่มีประโยชน์เป็นอาหารดับความหิวโหยได้ ต้นไม้ก็ดี ห่านก็ดี ต่างมีส่วนมีประโยชน์กับไร้ประโยชน์เป็นคู่ๆอยู่ในตัวเอง…” ท่านจวงจื้อตอบโดยละเอียด พลางชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการมองโลกว่า

 “…แต่เรากลับหลงเลือกมองเฉพาะส่วนหนึ่งใดในธรรมชาติเท่านั้น

ทั้งนี้ เพราะเราเลือกมองด้วยใจลำเอียงชอบหรือไม่ชอบส่วนหนึ่งใดในต้นไม้หรือห่านนั้น แล้วตีราคาประเมินคุณค่าให้กับสิ่งนั้นๆ ใจลำเอียงคือ ใจยึดติดที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสังคตลอดจนการโกงกินขายชาติบ้านเมือง

ท่านจวงจื้อเผยเคล็ดลับมองโลกข้อแรกไว้ว่า

จงมองอย่างพญามังกรซิ เดี๋ยวแปลงตัวเป็นงูเล็กเลื้อยอยู่บนดิน เดี๋ยวเป็นมังกรยักษ์กางปีกกว้างใหญ่สง่างามบินขึ้นท้องฟ้าหายเข้ากลีบเมฆไป
       
        พญามังกรมองโลกอย่างไร? เรามาทำความเข้าใจกับธรรมชาติตามลัทธิเต๋าสักเล็กน้อยก่อน

ตามปกติ เรามองเห็นธรรมชาติในลักษณะที่มีภาวะตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ:เกิด-ตาย จิต-กาย ตน-ผู้อื่น ฟ้า-ดิน หัว-ก้อย หญิง-ชาย หยิง-หยาง มิตร-ศัตรู รัก-เกลียด สุข-ทุกข์ นิพพาน-วัฏสงสาร ธรรม-อธรรม ฯลฯ โดยมองเห็นได้ในสองระดับ: รูปธรรมและนามธรรม

ในระดับรูปธรรม เราหลงผิดมองเห็นแต่ละคู่เป็นตัวตนที่ตายตัวถาวรชั่วนิรันดร ไม่สัมพันธ์กัน โดยเป็นเอกเทศต่อกัน คือ มีเกิดโดยไม่มี ตายมี จิตโดยไม่มี กายได้ ซึ่งขัดกับความเป็นจริงในธรรมชาติ และมองเห็นอาทิตน-ผู้อื่น เป็นข้างซ้าย-ขวาของคู่ถุงมือ นี่คือการมองโลกตามคติทวินิยม

ในขณะมองดู น้ำ-ดินด้วยคติทวินิยม เราจะเห็นน้ำบาดาลเป็นตัวตนที่มีอยู่ชั่วนิรันดรและไม่สัมพันธ์กับอะไรทั้งสิ้น ทุนนิยมก็พากันสูบขึ้นมาขายด้วย ต้นทุนต่ำ-กำไรงามผลกระทบก็คือแผ่นดินกรุงเทพมหานครกำลังทรุดต่ำลงราว 1.5 นิ้วต่อปี และหน่วยราชการสำคัญๆจะถูกน้ำ่ท่วมอย่างถาวรอีกไม่นานเกินรอ

ภาวะทั้งหลายในธรรมชาติสัมพันธ์กันหมด ไม่มีอะไรอยู่อย่างเอกเทศ วันหนึ่ง เมื่อพลังความร้อนของดวงอาทิตย์เกิดลดลงมากเกินไปด้วยชราภาพ หรือเมื่อดาวพระเคราะห์จูปิเตอร์ยักษ์เกิดหลุดออกจากวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ สุริยะจักรวาลที่ เป็นอยู่ของเรา ก็จะสูญเสีย ความสมดุลเข้าสู่วาระอวสาน ทั้งนี้ ตามสัจธรรมอนิจจัง

 เมื่อหลงมอง ตน-ผู้อื่นแล้วหลงตนมากกว่าผู้อื่น เราจะยึดติดตนมากกว่าผู้อื่น เมื่อหลงผู้อื่นมากกว่า เราจะยึดติดผู้อื่นมากกว่า และเมื่อหลงไม่มากไม่น้อยกว่ากัน เราจะยึดติดตนผู้อื่นพอๆกัน ตกอยู่ในภาวะ ทวิบทปั่นป่วน กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ส่วนในระดับนามธรรม เรามองเห็นคู่ อาทิ หัว-ก้อยเป็นชุดที่ไม่เป็นเอกเทศต่อกัน คือ แยกออกจากกันไม่ได้ของเหรียญ เรือ-พายเป็นชุดฯอุปกรณ์เดินทาง คนอยู่ปลายกระดานเป็นชุดฯกระดานหก ตน-ผู้อื่นเป็นชุดฯผู้คนมีประโยชน์-ไร้ประโยชน์เป็นชุดฯต้นไม้หรือตัวห่าน และ กลางวัน-กลางคืนเป็นชุดฯ 24 ชั่้วโมง

แต่ละส่วนของแต่ละชุดฯ ต่างอาศัยพลังงานจากธรรมชาติบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นชุดฯของตัวเอง มิฉะนั้น โลกจะไม่มีธรรมชาติเหล่านี้

เมื่อบูรณาการแล้ว แต่ละส่วนของชุดฯต่าง สัมพันธ์กันให้ เป็นอยู่ใน ความสมดุลทรง ความเป็นหนึ่งเดียวกันเป็น จิตหนึ่งจนกว่าจะแตก ดับไปตาม กฎแห่งธรรมชาติทั้งนี้ เป็นการมองโลกตาม คติเอกนิยม

ในชุดฯ ตน-ผู้อื่น ผู้มีเมตตาจิตต่อตัวเอง ย่อมมีเมตตาจิตต่อผู้อื่น ผู้มองเห็นความทุกข์ของเด็กทารกพิการแล้ว ย่อมรู้สึกเป็นทุกข์ด้วย ไม่มากก็น้อย เราจึงไม่มีตน ไม่มีผู้อื่น ไม่มีพวกเขา ไม่มีพวกเรา เพราะเราต่างเชื่อมโยงถึงกันและไม่ได้เป็นเอกเทศต่อกัน

ที่ว่า เราได้เพราะเขาให้นั้น จริงๆแล้ว เขาได้จากใครมาก่อน? เมื่อเสกขึ้นมาเองไม่ได้ เขาก็ย่อมต้องได้มาจาก ผู้อื่นดังนั้น เขา-ผู้อื่นก็คือคู่ที่ บูรณาการเข้าด้วยกัน” “สัมพันธ์กัน” “เป็นอยู่” ด้วย “ความเป็นหนึ่งเดียว กัน” อย่างแยกกันไม่ออก ในทำนองเดียวกับ “เขา-เรา” ฉะนั้น เราได้เพราะ เราให้ต่างหาก

การแปลงตัวให้อยู่ได้ทั้งบนฟ้าและดิน นั้น แสดงว่าพญามังกรมองเห็น ฟ้า-ดินเป็นคู่ที่บูรณาการเข้าด้วยกัน และ สัมพันธ์กันให้เป็นอยู่ในความสมดุลตามธรรมชาติ คือ เห็นฟ้า-ดินเป็นบ้านหลังเดียวตามคติเอกนิยม ไม่เห็นเป็นสองหลังแยกกันอยู่ตามคติทวินิยม

เคล็ดลับมองโลกข้อสองของท่านจวงจื้อคือ เราพึุงตื่นรู้ไว้เสมอ ให้ระมัดระวังไม่ละเมิดขอบเขตของผู้หลงอยู่กับคติทวินิยม เพื่อจะได้รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดีจากผู้หลงยึดติดตน” (แม่มดจอมอิจฉาริษยาในนิทานอมตะเรื่องสโนว์ไวท์กับคนแคระเจ็ดคน) และจากผู้หลงยึดติดผู้อื่นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเรา (กลุ่มการเมือง) โดยฝากคำเตือนใจอมตะไว้ว่า

อย่าทำตนเป็นคนมีประโยชน์ดีเด่นเกินไปจนผู้อื่่นรู้สึกอิจฉาริษยาหมายปองร้าย และอย่าทำตนเป็นคนไร้ประโยชน์สิ้นดี จนผู้อื่นรู้สึกเกลียดชังหมายกำจัด

        ตามคติทวินิยม เมื่อหลงยึดติดอยู่กับ เกิด” “ชีวิต” “วัตถุหรือ เงินทองเราจะบังเกิดความกลัวตายเพราะไม่ต้องการพลัดพรากจากชีวิตและสรรพสิ่งนอกกาย ซึ่งกลายเป็น หน้าตาทั้งหมดของเรา ยิ่งหลงมากก็ยิ่งกลัวตายมาก ทหารค่ายคติทวินิยมยอมพ่ายแพ้ต่อความกลัวตายของตนก่อนออกศึกสู้รบกับศัตรูด้วยซ้ำไป

ชีวิตที่โกงกินขายชาติบ้านเมือง คือชีวิตที่หลง โกงกินตัวเองโดยยึดติดวัตถุเงินทองอำนาจอย่างไม่รู้จักอิ่มพอ และมุ่งหวังให้สิ่งนอกกายล้นฟ้าท้ามหาสมุทรที่ตนได้ฉกฉวยขโมยขโจรมาได้เหล่านี้ มีอำนาจเนรมิตรตนให้เป็นอมตะบุคคลตลอดไป เพื่อจะได้ไม่กลัวตาย นับเป็นโรคจิตผิดกฎแห่งธรรมชาติที่ทำให้คนโกงตัวเองนี้ ไม่สามาถทำคุณประโยชน์แท้จริงต่อตนเองหรือสังคมส่วนรวมเลย

ชีวิตตามคติเอกนิยมไม่ ครอบครองธรรมชาติ  แต่เป็นชีวิตที่ เป็นอยู่” “สัมพันธ์” “เชื่อมโยงกับธรรมชาติ เครื่องอ่านคลื่นสมองเอฟเอ็มอาร์ไอได้พิสูจน์แล้วว่า เราสามารถสื่อสารกันโดยเพียงแต่ส่งกระแสจิตถึงกัน ขณะที่ทฤษฎีเกี่ยวกับแควนตั้มทำให้เราเข้าใจเหตุผลที่บางคนสามารถมองเห็นความลับที่ซ่อนอยู่ในภาพถ่ายอาคารที่ปิดมิดชิด ทั้งนี้ สะท้อนให้เห็น ความเป็นหนึ่งเดียวหรือ จิตหนึ่งในธรรมชาติ

สรุป ท่านจวงจื้อมิได้มีจุดยืนอยู่กับคติทวินิยม คือ ไม่ได้มองแต่ละคู่ของธรรมชาติในสภาพตายตัวชั่วนิรันดร ไม่สัมพันธ์กัน โดยเป็นเอกเทศต่อกัน และไม่เลือกมองด้วยอคติใจลำเอียงยึดติดแต่อย่างใด


ท่านจวงจื้อมีจุดยืนอยู่ที่คติเอกนิยม ท่านมีเคล็ดลับให้มองโลกเยี่ยงพญามังกร โดยเห็นธรรมชาติเป็นคู่ๆที่บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกันบนความสมดุล คือ มีจิตหนึ่งและท่านให้มองด้วยจิตตื่นรู้ที่ไม่ละเมิดขอบเขตของผู้หลงอยู่กับคติทวินิยม ทั้งนี้ เพื่อชีวิตจักได้ดำเนินไปอย่างกลมกลืนกับ เส้นทางชีวิตและคุณธรรมแห่งลัทธิเต๋า.

No comments:

Post a Comment