Thursday, February 26, 2015

คัมภีร์ยอดอมตะ
โดย ธนรัตน์ ยงวานิชจิต

        ทำไมผู้คนสมัยใหม่สื่อสารด้วยระบบดิจิทัล จึงน่าจะทำความรู้จักเพิ่มเติมกับคัมภีร์ยอดอมตะเล่มนี้?

ปรมาจารย์เล่าจื้อ ผู้อยู่ร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เป็นผู้เขียนคัีมภีร์ยอดอมตะชื่อว่า เต๋าเต็กเก็งเมื่อราว 26 ศตวรรษก่อน เต๋าคือเส้นทาง เต็ก..คุณธรรม เก็ง..หนังสือ ชื่อคัมภีร์หมายถึง คัมภีร์เส้นทางชีวิตกับคุณธรรม

คัมภีร์เต๋าได้แตกกิ่งออกเป็นเซนพุทธ และมีสาระที่คู่ขนานกับพระธรรมและส่วนที่สองของพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ซึ่้งบรรยายถึงชีวิตและการเทศนาของพระเยซูเจ้า

สังเกตได้ว่า คัมภีร์เต๋็ามีข้อแตกต่างสำคัญจากพระคัมภีร์คริสต์ ฮินดู หรืออิสลาม ตรงที่พระคัมภีร์เหล่านี้ ได้กำหนดเส้นทางชีวิตที่ถาวรตายตัวเป็นมั่นเหมาะไว้แล้ว เสมือนทางหลวงใหญ่ที่ถูกสร้างไว้ก่อน เพื่อให้เราได้ใช้อย่างสะดวกสบาย เพียงแต่เคลื่อนตามกลุ่มไปเรื่อยๆ เราก็จะถึง จุดหมายปลายาง เอง

ตรงกันข้ามเต๋าเป็นเส้นทางที่ไร้อัตตา จุดหมายปลายทาง นิพพาน สวรรค์ การรู้แจ้งเห็นจริง ตลอดจนชาติหน้าโดยสิ้นเชิง เต๋า เป็นอยู่ในภาวะ เรียบง่ายและจรวิสัยคือ ไม่ถูกขีดเส้นไว้ล่วงหน้า โดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหารย์ ดวงชะตาราศี หรือพรหม ลิขิต เต๋ายอมรับนับถือเอกลักษณ์และเสรีภาพส่วนบุคคล แต่ไม่ยอมรับนับถือการเกาะกันเป็นกลุ่มและ การเอาอย่างกัน ราวกับว่าเต๋ามี อำนาจเร้นลับที่คุ้มครองเราอยู่

เต๋าเปรียบได้กับเส้นทางบินของนกที่กำลังกระพือปีกบินอยู่บนท้องฟ้า

เมื่อได้ศึกษาจนเข้าใจคัมภีร์เต๋าอย่างถ่องแท้และนำไปถือปฏิบัติแล้ว เราจะมีเต๋าประจำตัวของเราเองซึ่งรักษาความสมดุลในตัวเราไว้ในขณะที่ใช้ชีวิตเป็นอยู่กับเต๋า อย่างไรก็ดี บางคนอาจรู้จักและเป็นอยู่กับเต๋ามาแต่กำเนิดโดยมิรู้ตัว ก็ได้

จักรวาลได้เกิดและเป็นอยู่กับความสมดุลมานานกว่า 13,800 ล้านปีแล้ว ฉะนั้น เมื่อความสมดุลของโลกถูกทำลายไป การเป็นอยู่ของเราก็จะประสบปัญหา

นักชีววิทยาทางทะเลพบว่า แมงกะพรุนที่มีพิษฆ่า คนได้ภายใน 2-3 นาที กำลังมีเพิ่มขึ้นสุดขีดติดต่อกัน ใน 5 ปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากปลาใหญ่ที่กิน แมงกะพรุนทั้งหลาย ได้ลดน้อยลงอย่างรวดเร็วติดต่อกันมา่นาน เนื่องจากถูกทุนสามานย์จับไปขายเชิงอุตสาหกรรมจนขาดความสมดุลในทะเล ยิ่งกว่านั้น แมงกะพรุนร้ายเหล่านี้กำลังทำให้ปลาแซลมอนและอื่นๆที่เป็นอาหารของเรา ลดน้อยลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย

แก่นของเต๋าคือจิตหนึ่งที่ปรากฏออกมา เป็นคู่ๆ: ฟ้า-ดิน หญิง-ชาย หยิง-หยาง ให้-รับ รวย-จน กลางวัน-กลางคืน จิต-กาย เกิด-ตาย ร้อน-หนาว สุข-ทุกข์ ตน-ผู้อื่น มิตร-ศัตรู รัก-เกลียด ฯลฯ

ในขณะที่เราใช้ชีวิตกับคู่ธรรมชาติต่างๆดังกล่าว จิตหนึ่ง” ก็ป้อนพลังให้เราเป็นอยู่กับความสงบสุขโดยทันที คือ มิต้องรอให้ถึงวันหน้า” “ชาติหน้าหรือจุดหมายปลายทางในอนาคตก่อน

เมื่อเต๋าเป็นเส้นทางที่อำนวยความสงบสุขแก่เราแล้ว จุดหมายปลายทางก็ย่อมไร้ความหมาย

จริงๆแล้ว คู่้ธรรมชาติดังกล่าวไม่ได้อยู่ตรงข้ามกันเลย แต่กลับเสนอสนองกัน พึ่งพิงกัน ตลอดจนเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน ดังเช่นคู่แมลงผึ้งกับดอกไม้

คัมภีร์เต๋ากล่าวถึงคู่ ฟ้า-ดินไว้ว่า สวรรค์กับพิภพอยู่ได้ชั่วนิรันดร ด้วยต่างมิได้แยกกันอยู่เพื่อตัวเองคือ ฟ้าดินทำ “การบูรณาการเข้าด้วยกัน พึ่งพิงกัน อย่างคู่กลางวัน-กลางคืนที่ผนึกกันเป็น หนึ่งเดียวกันของ 24 ชั่วโมง

ปรมาจารย์ยุทธศาสตร์สงครามซุนจื้อ สมัยหลังพระพุทธเจ้าเล็กน้อย ได้ประยุกต์การบูรณาการดังกล่าวเข้าเป็นกฎศีลธรรมที่นายพลต้องเรียนรู้ในตำราพิชัยสงครามของตน ชื่อว่า ศิลปการสงครามอนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนและนายพลทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ในสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา ได้ทดสอบตำรานี้ในสมรภูมิจนประสบชัยชนะกันมาแล้ว

คัมภีร์เต๋าเขียนด้วยอักษรจีนโบราณราว 5,000 คำ ในรูปบทกลอนสั้นๆ แต่จุความ มากมีด้วยสาระล้ำลึก ยิ่ง:“นามที่บ่งบอกได้มิใช่นามที่ทรงความถาวรตายตัว นามที่บ่งบอกไม่ได้คือผู้ให้กำเนิดความกว้างใหญ่ไพศาล นามที่บ่งบอกได้คือมารดาผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่งทั้งปวง

เมื่อเราสมมตินามชื่อขึ้นมาเพื่อแยกแยะผู้คนความคิดวัตถุออกจากกัน ชื่อที่เรากำหนดไว้แน่นอนก็กลายเป็น ภาพนิ่งที่สื่อให้เราหลงผิดมองเห็นแต่ภาวะถาวรไม่จริงของชื่อกับเจ้าของชื่อผู้สะกดชื่อด้วยอักษรตัวเดิมตลอด เราจึงไม่เห็นภาวะ ไม่ถาวรจริงของเจ้าของชื่อผู้แปรเปลี่ยนตามวัยวุฒิ คุณวุฒิ วุฒิภาวะ ตลอดจนประสบการณ์ส่วนตัวไปเรื่อยๆ ส่วนนามที่บ่งบอกไม่ได้คือประสบ การณ์ภายในตัวเราที่เราไม่สามารถสื่อออกมาเป็นถ้อยคำได้ถูกต้องครบถ้วน

คัมภีร์เต๋าอุดมด้วยสาระพึงใฝ่ใจ:“อย่าเิทิดทูนผู้ทำได้สำเร็จ เพื่อผู้คนไม่โต้แย้งกัน อย่าตีราคาสูงส่งให้กับสิ่งที่หาได้ยาก เพื่อผู้คนไม่เป็นโจร บัณฑิตพึงทำจิตให้ว่าง ดูแลท้องให้อิ่ม เลิกทะเยอทะยาน ให้กระดูกแข็งแกร่งไว้ จงระวังความอิจฉาริษยากับกิเลส ทำจิตให้ว่างกับรักษาสุขภาพ และให้อ่อนนอกแต่แข็งในไว้

คัมภีร์เต๋า่ยังมีสาระล้ำลึกเชิงปฏิทรรศน์:“เมื่อตระหนักดีว่าเราไม่มีอะไรขาดเหลือแล้ว โลกนี้ทั้งโลกเป็นของเราทันที..ใจที่ให้ มีแต่ได้รับ..กฎหมายยิ่งมาก โจรยิ่งชุึม..คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้.. ยิ่งไม่อยากได้ก็ยิ่งได้ ยิ่งอยากได้(ระเบียบ)ก็ยิ่งไม่ได้(ระเบียบ) ยิ่งไม่อวดรู้ก็ยิ่งไม่โง่ ยิ่งอวดรู้ก็ยิ่งโง่

จุดเด่นคัมภีร์เต๋าอยู่ที่บทปุจฉาวิสัชนาน่าสนใจ: ชื่อเสียงกับสุขภาพ อะไรสำคัึญกว่ากัน? สุขภาพกับสมบัติ อะไรมีคุณค่ากว่ากัน? กำไรกับขาดทุน อะไรวิบัติกว่ากัน?

ท่านเล่้าจื้อวิสัชนาว่า ลุ่มหลงตนมากก็ลงทุนมาก โลภมหันต์ก็สูญมหันต์ รู้จักพอเพียงก็พ้นเสื่่อมเสีย รู้จักหยุดยั้งก็ปลอดภัย นี่คือเต๋็าแห่งทางอยู่รอดชื่อเสียงเงินทองไม่สามารถอำนวยความมั่นคงปลอดภัยหรือความสงบสุขให้แก่เราได้เลย โลภโมโทสันสู่กำไร/ขาดทุนคือความวิบัติหายนะ และสุขภาพคือคุณค่าที่ยัง “เป็นอยู่” กับชีวิตเรา

องค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณพุทธทิเบตองค์ที่ 14 ทรงให้สัมภาษณ์สื่อไว้ว่า เพื่อนชาวอเมริกันร่ำรวยหลายพันล้านดอลลาร์คนหนึ่ง ได้สารภาพกับข้าพเจ้าไว้ว่า เงินทองทั้งหมดที่เขามีอยู่ ไม่ได้อำนวยความสงบสุขให้แก่เขาเลย

ความโลภโมโทสันเงินทองยังก่อให้เกิดปัญหานานัปการ อาทิ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในสังคม นิตยสารบลูมเบิรค์รายงานว่า ในปี 2556 บรรดาประธานบริหารกิจการขนาดใหญ่ ได้รับค่าจ้างมากเป็น 205 เท่าของพนักงานระดับทั่้วไป โดยเพิ่มขึ้นอีก 20% จากปี 2552 ด้วยซ้ำไป ส่วนเงินบำนาญอีกชุดหนึ่งของประธานฯ ก็ได้เติบโตเป็น 200-300 เท่า ของพนักงานทั่วไป

บลูมเบิรค์เปิดเผยว่า ในปี 2557 ประธานฯเกรก สไตน์เฮเฟลแห่งกิจการขายปลีกยักษ์ใหญ่ทาร์เก็ต สหรัฐฯ พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุข้อมูลเครดิตการ์ดลูกค้านับล้านคนรั่วไหลออกไป แต่ก็ยังได้รับเงินเฉพาะบำนาญอย่างเดียวรวมถึง $47 ล้านเหรียญ นับเป็น 1,044 เท่า ของพนักงานทั่วไป

คัมภีร์เต๋าในบทที่ 53 ประนามผู้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมไว้ว่า มิใยท้องนาถูกทอดทิ้งและยุ้งข้าวอยู่ว่างเปล่า..ผู้ปกครองบ้านเมืองก็ยังประดับตัวด้วยอาภรณ์วิจิตร..กระชับด้วยพระขรรค์สง่างาม.. เฉลิมฉลองด้วยสุราอาหารฟุ่มเฟือย..สะสมความมั่งคั่งส่วนตัวต่อไป..นี่คือการกระทำอย่างโจรมหาโจร..ที่มิได้เป็นอยู่กับเต๋า  นักการเมืองที่โกงกินขายชาติบ้านเมืองพึงสำเหนียกบทนี้ไว้

เต๋าคือเส้นทางที่ เป็นอยู่ในความสมดุลกับคู่ รวย-จนสู่ความรู้สึกพอเพียง” ตรงข้ามกับเส้นทางวัตถุเงินทองนิยมที่ชักนำให้เราหลงผิดมุ่ง “มีอย่างหนูตะเภาที่วิ่งแข่งกันในเส้นทางวกวน เพียงเพื่อให้ มีวัตถุเงินทองอย่างไม่น้อยหน้าชาวบ้านและตาม โลภโกรธหลงแห่งอัตตา มิใยความวิบัติเบื้องหน้า ดังเห็นได้จากจากโรงพยาบาลและเรือนจำที่รัฐสร้างได้ไม่ทัีนกับความต้องการของสังคมวัตถุเงินทองนิยมในปัจจุบัน

ท่านเล่าจื้อฝากข้อคิดไว้ว่า เป็นอยู่กับอดีตก็โศรกซึม เป็นอยู่กับอนาคตก็วิตกกังวล เป็นอยู่กับปัจจุบันก็สงบสุข

เมื่อออกจากเต๋าไป “เป็นอยู่” กับอดีตหรืออนาคตกาล เราก็รู้สึก โศรกซึมหรือวิตกกังวล ซึ่งเป็นอาการโรคจิตผิดกฎแห่งธรรมชาติ และสูญสิ้นพลังกับความห้าวหาญที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิตให้ลุล่วงไปตามธรรมชาติ

แต่เมื่ออยู่กับเต๋าและ “เป็นอยู่” กับปัจจุบันกาล เราเห็นจิตหนึ่ง” “พุทธะทันที รู้สึกสงบสุขกลมกลืนกับกฎแห่งธรรมชาติ และมีพลังกับความห้าวหาญดังกล่าว นี่คือ “อำนาจเร้นลับ” ของเต๋าที่คุ้มครองเราอยู่ตลอดเวลา

ชีวิตเต๋าเปรียบได้กับ สายน้ำที่เป็นอยู่อย่างเพศหญิง อ่่อนนอกแต่แข็งใน ไหลเทไปอำนวยประโยชน์ต่อโลก มิเคยพักเพื่อวิวาท มุ่งค้นหาทางรอดผ่านรูเข็มในโขดหิน โอบรอบแผ่นดินให้เป็นเกาะ กระโจนจากผาสูงอย่างห้าวหาญ ลอยตัวลงไปกระแทกแผ่นหินแข็งแกร่งเบื้องล่าง แตกกระจายเป็นฟอง รวมตัวกันไหลเทต่อไป จวบจนสิ้นสุดพลังในมหาสมุทร โดยมิได้นำสิ่งหนึ่งใดติดตัวมาด้วยแม้แต่ชิ้นเดียว

“ชีิวิตไร้เต๋า” เปรียบได้กับชีวิตที่กำลังถูกโลภโกรธหลงภายในตัวเรา ปล้นจี้บงการเราอยู่ เราจึงต้องปลดแอกตัวเองตามวิถีทางและด้วยความตั้งใจ จริงของตัวเอง เพื่อจะได้กลับไป “เป็นอยู่” กับเต๋า อย่างเมื่อแรกเกิด 

ทำไมผู้คนนับแต่โบราณกาลจึงยกย่องเต๋า? ท่านเล่าจื้อตอบว่า “ผู้ไม่รู้ย่อมหยั่งรู้ได้จากเต๋า ผู้ทำผิดย่อมพ้นผิดจากเต๋า”  เต๋าคือจิตตื่นรู้เชิง อัชฌัตติกญาณหรือจิตรู้เอง เป็นการหยั่งรู้ที่เหนือกว่าความรู้ที่วัดตวงด้วย ปริญญาบัตร เมื่ออยู่นอกเต๋าหรือไร้จิตตื่นรู้ฯ เราย่อมทำผิดกฎแห่งธรรมชาติได้ แต่เต๋าก็ไม่ถือโทษ คือ เรา “เป็นอยู่” กับเต๋าได้ทุกเมื่อ



แม้ไม่ได้เป็นศาสนามาแต่เดิม ลัทธิเต๋าคือศูนย์กลางของศาสนาทั้งปวง และเป็นทางออกของมนุษยชาติทุกยุคสมัีย สู่การเป็นอยู่ในความสมดุลและความสงบสุขที่แท้จริง อันเป็นยอดปรารถนาของชาวโลกทั้งปวง.

Tuesday, February 17, 2015


Horizon of Mayan Temple Ruins, Tulum, Mexico


Mayan Temple Ruins, Tulum, Mexico


The Search

No matter whether you were living in the Mayan period 
or trying to survive in today's technological world,
deep in your natural mind,
your will be subconsciously searching for serenity and eternity
amidst your rat races for money and materials just to be ahead of your neighbors.

What is critical is to do your search at the right place.

In looking for something, you can do it in a dark room where you can see nothing,
or in an illuminated room where you can see something.

By casting your sight outward,
you are looking at the world in front of you all at once.

You are searching for a needle in a haystack and do not find it.
You are actually looking for something in a dark room.

By casting your sight inward,
you are looking at the world inside of you at once.

You are searching for a needle in a familiar space.
You are actually looking for something in an illuminated room.

Only when you look inward can you find the magnificent power of enlightenment within you: 

the power to guide you toward a meaningful life
--one with serenity and eternity--

One with Timelessness.


Dhanarat Yongvanichjit
January 8, 2007
MindMatters Blog
เคล็ดลับมองโลก
โดย ธนรัตน์ ยงวานิชจิต
dhanarat333@gmail.com

 อาจารย์จวงจื้อ (.. 174-257) เป็นปราชญ์แห่งลัทธิเต๋าที่ปรมาจารย์เล่าจื้อได้วางรากฐานไว้ คัมภีร์เต๋าเต็กเก็งอมตะของท่านเล่าจื้อมีสาระที่คู่ขนานกับพระธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างน่าพิศวงยิ่ง ท่านจวงจื้อจึงมี เคล็ดลับในการมองโลกที่น่าสนใจทีเดียว

วันหนึ่ง ขณะเดินทางผ่านป่าละเมาะ ท่านจวงจื้อกับกลุ่มลูกศิษย์พบต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ยืนโดดเดี่ยวแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นบริเวณกว้างอยู่กลางทุ่ง แต่มีลำต้น กิ่งก้านคดงอบิดเบี้ยวเป็นท่อนสั้นๆตลอดทั้งต้น

        ดูซิ ต้นคดงอไร้ประโยชน์ เนื้อไม้ไม่ตรงยาวพอที่จะเอาไปสร้างบ้านทำเตียงโต๊ะเก้าอี้ได้ ชาวบ้านจึงไม่ตัดโค่นท่านจวงจื้อชี้ให้เห็นเหตุผลอยู่รอดของต้นไม้นี้ แล้วนำลูกศิษย์ไปเยี่ยมเยือนเพื่อนเก่าแก่คนหนึ่งในหมู่บ้าน

หลังจากที่ได้ทักทายอาคันตุกะด้วยความตื่นเต้นยินดียิ่ง เพื่อนก็สั่งลูกชายคนโตให้หุงหาอาหารต้อนรับขับสู้คณะผู้มาเยือนทันที

พ่อ..มีห่านอยู่สองตัว ตัวหนึ่งทำเสียงร้องได้ อีกตัวร้องไม่ได้ พ่อให้เอาห่านตัวไหนทำกับข้าวดีฮะ?”

เอาห่านที่ร้องไม่ได้ซิลูก เืมื่อร้องไม่ได้แล้วจะมีประโยชน์อะไรล่ะ?

วันรุ่งขึ้น หลังจากที่ได้ขบคิดเหตุการณ์เกี่ยวกับต้นไม้และห่าน บรรดาลูกศิษย์ก็ขอหารือกับท่านจวงจื้อ

ท่านอาจารย์ที่เคารพ ต้นไม้คดงอไร้ประโยชน์ จึงอยู่รอด ส่วนห่านร้องไม่ได้ก็ไร้ประโยชน์ กลับไม่อยู่รอด ท่านมีจุดยืนประการใดต่อ มีประโยชน์กับไร้ประโยชน์ ขอรับ?”

ต้นคดงอใช้ทำอะไรไม่ได้มากไร้ประโยชน์ก็จริง แต่มีใบไม้แผ่กระจายร่มเงาให้ผู้คนได้รับประโยชน์พักร้อนจากแสงแดดแรงกล้า ห่านร้องไม่ได้ไร้ประโยชน์ก็จริง แต่มีประโยชน์เป็นอาหารดับความหิวโหยได้ ต้นไม้ก็ดี ห่านก็ดี ต่างมีส่วนมีประโยชน์กับไร้ประโยชน์เป็นคู่ๆอยู่ในตัวเอง…” ท่านจวงจื้อตอบโดยละเอียด พลางชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการมองโลกว่า

 “…แต่เรากลับหลงเลือกมองเฉพาะส่วนหนึ่งใดในธรรมชาติเท่านั้น

ทั้งนี้ เพราะเราเลือกมองด้วยใจลำเอียงชอบหรือไม่ชอบส่วนหนึ่งใดในต้นไม้หรือห่านนั้น แล้วตีราคาประเมินคุณค่าให้กับสิ่งนั้นๆ ใจลำเอียงคือ ใจยึดติดที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสังคตลอดจนการโกงกินขายชาติบ้านเมือง

ท่านจวงจื้อเผยเคล็ดลับมองโลกข้อแรกไว้ว่า

จงมองอย่างพญามังกรซิ เดี๋ยวแปลงตัวเป็นงูเล็กเลื้อยอยู่บนดิน เดี๋ยวเป็นมังกรยักษ์กางปีกกว้างใหญ่สง่างามบินขึ้นท้องฟ้าหายเข้ากลีบเมฆไป
       
        พญามังกรมองโลกอย่างไร? เรามาทำความเข้าใจกับธรรมชาติตามลัทธิเต๋าสักเล็กน้อยก่อน

ตามปกติ เรามองเห็นธรรมชาติในลักษณะที่มีภาวะตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ:เกิด-ตาย จิต-กาย ตน-ผู้อื่น ฟ้า-ดิน หัว-ก้อย หญิง-ชาย หยิง-หยาง มิตร-ศัตรู รัก-เกลียด สุข-ทุกข์ นิพพาน-วัฏสงสาร ธรรม-อธรรม ฯลฯ โดยมองเห็นได้ในสองระดับ: รูปธรรมและนามธรรม

ในระดับรูปธรรม เราหลงผิดมองเห็นแต่ละคู่เป็นตัวตนที่ตายตัวถาวรชั่วนิรันดร ไม่สัมพันธ์กัน โดยเป็นเอกเทศต่อกัน คือ มีเกิดโดยไม่มี ตายมี จิตโดยไม่มี กายได้ ซึ่งขัดกับความเป็นจริงในธรรมชาติ และมองเห็นอาทิตน-ผู้อื่น เป็นข้างซ้าย-ขวาของคู่ถุงมือ นี่คือการมองโลกตามคติทวินิยม

ในขณะมองดู น้ำ-ดินด้วยคติทวินิยม เราจะเห็นน้ำบาดาลเป็นตัวตนที่มีอยู่ชั่วนิรันดรและไม่สัมพันธ์กับอะไรทั้งสิ้น ทุนนิยมก็พากันสูบขึ้นมาขายด้วย ต้นทุนต่ำ-กำไรงามผลกระทบก็คือแผ่นดินกรุงเทพมหานครกำลังทรุดต่ำลงราว 1.5 นิ้วต่อปี และหน่วยราชการสำคัญๆจะถูกน้ำ่ท่วมอย่างถาวรอีกไม่นานเกินรอ

ภาวะทั้งหลายในธรรมชาติสัมพันธ์กันหมด ไม่มีอะไรอยู่อย่างเอกเทศ วันหนึ่ง เมื่อพลังความร้อนของดวงอาทิตย์เกิดลดลงมากเกินไปด้วยชราภาพ หรือเมื่อดาวพระเคราะห์จูปิเตอร์ยักษ์เกิดหลุดออกจากวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ สุริยะจักรวาลที่ เป็นอยู่ของเรา ก็จะสูญเสีย ความสมดุลเข้าสู่วาระอวสาน ทั้งนี้ ตามสัจธรรมอนิจจัง

 เมื่อหลงมอง ตน-ผู้อื่นแล้วหลงตนมากกว่าผู้อื่น เราจะยึดติดตนมากกว่าผู้อื่น เมื่อหลงผู้อื่นมากกว่า เราจะยึดติดผู้อื่นมากกว่า และเมื่อหลงไม่มากไม่น้อยกว่ากัน เราจะยึดติดตนผู้อื่นพอๆกัน ตกอยู่ในภาวะ ทวิบทปั่นป่วน กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ส่วนในระดับนามธรรม เรามองเห็นคู่ อาทิ หัว-ก้อยเป็นชุดที่ไม่เป็นเอกเทศต่อกัน คือ แยกออกจากกันไม่ได้ของเหรียญ เรือ-พายเป็นชุดฯอุปกรณ์เดินทาง คนอยู่ปลายกระดานเป็นชุดฯกระดานหก ตน-ผู้อื่นเป็นชุดฯผู้คนมีประโยชน์-ไร้ประโยชน์เป็นชุดฯต้นไม้หรือตัวห่าน และ กลางวัน-กลางคืนเป็นชุดฯ 24 ชั่้วโมง

แต่ละส่วนของแต่ละชุดฯ ต่างอาศัยพลังงานจากธรรมชาติบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นชุดฯของตัวเอง มิฉะนั้น โลกจะไม่มีธรรมชาติเหล่านี้

เมื่อบูรณาการแล้ว แต่ละส่วนของชุดฯต่าง สัมพันธ์กันให้ เป็นอยู่ใน ความสมดุลทรง ความเป็นหนึ่งเดียวกันเป็น จิตหนึ่งจนกว่าจะแตก ดับไปตาม กฎแห่งธรรมชาติทั้งนี้ เป็นการมองโลกตาม คติเอกนิยม

ในชุดฯ ตน-ผู้อื่น ผู้มีเมตตาจิตต่อตัวเอง ย่อมมีเมตตาจิตต่อผู้อื่น ผู้มองเห็นความทุกข์ของเด็กทารกพิการแล้ว ย่อมรู้สึกเป็นทุกข์ด้วย ไม่มากก็น้อย เราจึงไม่มีตน ไม่มีผู้อื่น ไม่มีพวกเขา ไม่มีพวกเรา เพราะเราต่างเชื่อมโยงถึงกันและไม่ได้เป็นเอกเทศต่อกัน

ที่ว่า เราได้เพราะเขาให้นั้น จริงๆแล้ว เขาได้จากใครมาก่อน? เมื่อเสกขึ้นมาเองไม่ได้ เขาก็ย่อมต้องได้มาจาก ผู้อื่นดังนั้น เขา-ผู้อื่นก็คือคู่ที่ บูรณาการเข้าด้วยกัน” “สัมพันธ์กัน” “เป็นอยู่” ด้วย “ความเป็นหนึ่งเดียว กัน” อย่างแยกกันไม่ออก ในทำนองเดียวกับ “เขา-เรา” ฉะนั้น เราได้เพราะ เราให้ต่างหาก

การแปลงตัวให้อยู่ได้ทั้งบนฟ้าและดิน นั้น แสดงว่าพญามังกรมองเห็น ฟ้า-ดินเป็นคู่ที่บูรณาการเข้าด้วยกัน และ สัมพันธ์กันให้เป็นอยู่ในความสมดุลตามธรรมชาติ คือ เห็นฟ้า-ดินเป็นบ้านหลังเดียวตามคติเอกนิยม ไม่เห็นเป็นสองหลังแยกกันอยู่ตามคติทวินิยม

เคล็ดลับมองโลกข้อสองของท่านจวงจื้อคือ เราพึุงตื่นรู้ไว้เสมอ ให้ระมัดระวังไม่ละเมิดขอบเขตของผู้หลงอยู่กับคติทวินิยม เพื่อจะได้รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดีจากผู้หลงยึดติดตน” (แม่มดจอมอิจฉาริษยาในนิทานอมตะเรื่องสโนว์ไวท์กับคนแคระเจ็ดคน) และจากผู้หลงยึดติดผู้อื่นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเรา (กลุ่มการเมือง) โดยฝากคำเตือนใจอมตะไว้ว่า

อย่าทำตนเป็นคนมีประโยชน์ดีเด่นเกินไปจนผู้อื่่นรู้สึกอิจฉาริษยาหมายปองร้าย และอย่าทำตนเป็นคนไร้ประโยชน์สิ้นดี จนผู้อื่นรู้สึกเกลียดชังหมายกำจัด

        ตามคติทวินิยม เมื่อหลงยึดติดอยู่กับ เกิด” “ชีวิต” “วัตถุหรือ เงินทองเราจะบังเกิดความกลัวตายเพราะไม่ต้องการพลัดพรากจากชีวิตและสรรพสิ่งนอกกาย ซึ่งกลายเป็น หน้าตาทั้งหมดของเรา ยิ่งหลงมากก็ยิ่งกลัวตายมาก ทหารค่ายคติทวินิยมยอมพ่ายแพ้ต่อความกลัวตายของตนก่อนออกศึกสู้รบกับศัตรูด้วยซ้ำไป

ชีวิตที่โกงกินขายชาติบ้านเมือง คือชีวิตที่หลง โกงกินตัวเองโดยยึดติดวัตถุเงินทองอำนาจอย่างไม่รู้จักอิ่มพอ และมุ่งหวังให้สิ่งนอกกายล้นฟ้าท้ามหาสมุทรที่ตนได้ฉกฉวยขโมยขโจรมาได้เหล่านี้ มีอำนาจเนรมิตรตนให้เป็นอมตะบุคคลตลอดไป เพื่อจะได้ไม่กลัวตาย นับเป็นโรคจิตผิดกฎแห่งธรรมชาติที่ทำให้คนโกงตัวเองนี้ ไม่สามาถทำคุณประโยชน์แท้จริงต่อตนเองหรือสังคมส่วนรวมเลย

ชีวิตตามคติเอกนิยมไม่ ครอบครองธรรมชาติ  แต่เป็นชีวิตที่ เป็นอยู่” “สัมพันธ์” “เชื่อมโยงกับธรรมชาติ เครื่องอ่านคลื่นสมองเอฟเอ็มอาร์ไอได้พิสูจน์แล้วว่า เราสามารถสื่อสารกันโดยเพียงแต่ส่งกระแสจิตถึงกัน ขณะที่ทฤษฎีเกี่ยวกับแควนตั้มทำให้เราเข้าใจเหตุผลที่บางคนสามารถมองเห็นความลับที่ซ่อนอยู่ในภาพถ่ายอาคารที่ปิดมิดชิด ทั้งนี้ สะท้อนให้เห็น ความเป็นหนึ่งเดียวหรือ จิตหนึ่งในธรรมชาติ

สรุป ท่านจวงจื้อมิได้มีจุดยืนอยู่กับคติทวินิยม คือ ไม่ได้มองแต่ละคู่ของธรรมชาติในสภาพตายตัวชั่วนิรันดร ไม่สัมพันธ์กัน โดยเป็นเอกเทศต่อกัน และไม่เลือกมองด้วยอคติใจลำเอียงยึดติดแต่อย่างใด


ท่านจวงจื้อมีจุดยืนอยู่ที่คติเอกนิยม ท่านมีเคล็ดลับให้มองโลกเยี่ยงพญามังกร โดยเห็นธรรมชาติเป็นคู่ๆที่บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกันบนความสมดุล คือ มีจิตหนึ่งและท่านให้มองด้วยจิตตื่นรู้ที่ไม่ละเมิดขอบเขตของผู้หลงอยู่กับคติทวินิยม ทั้งนี้ เพื่อชีวิตจักได้ดำเนินไปอย่างกลมกลืนกับ เส้นทางชีวิตและคุณธรรมแห่งลัทธิเต๋า.
เปาบุ้นจิ้น
ผู้พิพากษาตงฉิน
โดย ธนรัตน์ ยงวานิชจิต
dhanarat333@gmail.com


เปาเส็ง” (..1542-..1605) เป็นข้าราชการ และผู้พิพากษาโด่งดังที่สุดในราชวงศ์ซ้อง นายเดวิดวู แห่งวารสารเอเปิคไทมส์ ได้เขียนประวัติสั้นๆของท่าน เปาไว้ มีสาระน่าสนใจ ดังนี้
       
ระหว่างรับราชการ ท่านเปาขับเคี่ยวกับคดีฉ้อ ราษฏร์บังหลวงด้วยความห้าวหาญ โดยสามารถ พิพากษาคดีสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน และนำผู้ละเมิด กฎหมายตัวจริงมาลงโทษได้สำเร็จ เช่น ท่านเปาได้ พิพากษาลงโทษผู้ว่าราชการจังหวัดกังฉินทั้งหลาย และญาติโยมทั้งปวงของข้าราชการชั้นสูงในคดีละเมิดสิทธิชาวบ้าน ตลอดจนบรรดาพ่อค้าร้อยเล่ห์พัน เหลี่ยมที่พยายามหลีกเลี่ยงกฏหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ท่านเปาไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆทั้งสิ้น

        ท่านเปาไ้ด้รับความนับถือและความนิยมชมชอบอย่างกว้างขวางจากราษฏรในภูมิภาคที่ท่านรับราชการอยู่ อุปนิสัียใจคอแบบตรงไปตรงมา ไร้อัตตา ตลอดจน การพิจารณาคดีความอย่างเที่ยงธรรม ส่งผลให้ท่านได้ รับการขนานนามว่า เปาชิ้งเถียนหรือ เปาฟ้าใสโดยเป็นที่รู้จักกันในไทยว่า เปาบุ้นจิ้น

        สมัยนั้น ข้าราชการฝ่ายกฎหมายและในวังนิยมใช้มาตรการทรมานร่างกาย เพื่อบีบคั้นให้ผู้ถูกกล่าวหา ยอมรัีบผิด ทั้งที่ไม่ผิด ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาที่บริสุทธิ์ หลายคนถูกพิพากษาลงโทษผิดตัวฟรีๆ

        ท่านเปามุ่งแก้ปัญหาต่างๆที่ชาวบ้านหรือขุนนาง ได้ก่อไว้ ด้วยการใช้สติปัญญาอันหลักแหลม การคิดที่ เถรตรงแบบไม้บันทัด การสืบสวนสอบสวนอย่างทะลุ ปรุโปร่ง การสังเกตพฤติกรรมคู่กรณีอย่างใกล้ชิด  การประยุกต์วิชาความรู้ การใช้ไหวพริบเฉียบไว ตลอดจนการมีความอดทนอดกลั้นทั้งปวง โดยมิได้ใช้มาตรการทรมานจำเลย อย่างที่ข้าราชการคนอื่นๆทำกันอยู่แต่อย่างใด

ทั้งนี้ ส่งผลให้ท่านเปามีชื่อเสียงเป็นผู้พิพากษาที่สามารถขบเงื่อนงำในคดีความต่างๆได้แตกหมด จนเป็นที่เลื่องลือว่าท่านเปาคือนักสืบชาวจีนคนแรกที่น่าจะโด่งดังที่สุดในตำนานจีน

        ทุกวันนี้ เรามักเห็นท่านเปาออกมาเป็นตัวละครบน เวทีการแสดงต่างๆ โดยได้รับการตบแต่งหน้าด้วยสีดำ ให้แลดูเคร่งขรึม มีรูปปานเป็นพระจันทร์เสี้ยวติดอยู่บนหน้าผาก และมีผู้เก่งกาจทางศิลปการต่อสู้ยืนอยู่ข้างๆ

        ท่านเปาถือกำเนิดมาในครอบครัวที่คงแก่เรียน ในวัยเด็ก ท่านขยันเล่าเรียนเขียนอ่านมาก เมื่ออายุได้ 29 ปี ท่านสามารถสอบผ่านข้อสอบคัดเลือกข้าราช การได้หมดทุกระดับ จนได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งจากพระมหาจักรพรรดิ ให้เป็นข้าราชการระดับเทศมณฑล ซึ่งเล็กกว่าจังหวัดแต่ใหญ่กว่าตัวเมือง

        ในขณะเริ่มรับราชการ บิดามารดาผู้สูงอายุของท่านเปาก็กำลังประสบปัญหาสุขภาพทรุดโทรม ล้มป่วยเป็นประจำ ด้วยจิตกตัญญูกตเวทีต่อพระคุณ บิดามารดา ท่านเปาตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งอันทรงเกียรติ ย้ายถิ่นฐานกลับบ้านไปดูแลทั้งสองท่านอยู่เกือบสิบปี จวบจนท่านสิ้นลมหายใจ

        หลังจากที่ได้ทำหน้าที่บุตรกตัญญูแล้ว ท่านเปาก็กลับเข้ารับราชการอีก และด้วยความฉลาดสุขุมรอบคอบที่มีอยู่แล้ว ท่านเปาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นข้าราชการฝ่ายกฎหมายในเมืองหลวงของราชวงศ์ซ้อง ชื่อว่า เมืองไคฟองซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านช่องของเหล่าขุนนางและตระกูลทรงอำนาจอิทธิพลทั้งหลายทั้งปวง

        กระนั้นก็ตาม ท่านเปามิได้หวั่นใจ กลับลงมือปฏิรูปโครงสร้างหน้าที่ฝ่ายตุลาการอย่างจริงจัง จนเมืองไคฟองมีระบบระเบียบสำหรับดำเนินคดีอย่างเป็น กิจจะลักษณะได้ภายในเวลาหนึ่งปี

        เดิมที โจทก์ต้องเขียนขอความยุติธรรมบนแผ่น กระดาษและยื่นคำร้องต่อเลขานุการศาล เพื่อรับฟ้อง แต่บ่อยครั้ง ตระกูลทรงอำนาจอิทธิพลผู้ตกเป็นจำเลย นิยมติดสินบนเลขาฯ เพื่อใ้ห้ล้มคดี

ท่านเปาปฏิรูประบบตุลาการใหม่หมด อนุโลมให้ฟ้องร้องต่อศาลด้วยปากเปล่าได้ โดยไม่ต้องยื่นแผ่นคำร้องใดๆ ชาวบ้านยากจนด้อยการศึกษาก็สามารถหลุดรอดจากมือมืดบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยข้าราชการชั่วรับสินบน ตัวบทกฎหมายในเมืองหลวงก็เริ่มมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ท่านเปาจึงได้รับสมญานามต่อมาว่า ผู้พิพากษาหน้าเหล็ก

        ครั้งหนึ่ง เมืองไคฟองถูกน้ำท่วม ชาวบ้านชาวเมืองเดือดร้อนกันทั่ว ท่านเปาสอบสวนแล้วพบว่า สาเหตุเกิดจากการที่บรรดาตระกูลทรงอำนาจอิทธิพล ได้สร้างสวนหย่อนใจและศาลาใหญ่โตคร่อมแม่น้ำไว้โดยผิดกฎหมาย ทำให้น้ำส่วนต้นของแม่น้ำไหลล้นขึ้นทั้งสองฝั่ง ท่วมบ้านราษฏรใกล้เคียง ก่อให้เกิดความเสียหายเดือนร้อนกันทั่ว

        ท่านเปาออกคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยทันที และขีดเส้นตายวันรื้อถอนไว้ด้วย ทว่า เจ้าของสิ่งปลูกสร้างรายหนึ่งกลับนิ่งเฉย ไม่ใยดีต่อ คำสั่งศาล ท่านเปาก็เชิญมาสอบถาม ส่วนเจ้าของฯ ก็ตอบรับด้วยการยื่นเอกสารโฉนดที่ดินแสดงตนเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โดยชอบ

        เมื่อประสบกับหลักฐานพยานเอกสาร ซึ่งโดยทั่วไปหนักแน่นกว่าพยานบุคคล ท่านเปากลับไม่ย่อท้อ พยายามทบทวนดูโฉนดที่ดินใบนั้นทุกตารางนิ้ว จน พบจุดบกพร่องจุดหนึ่งที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นโฉนดปลอ

        ท่านเปาออกคำสั่งซ้ำสองให้่เจ้าของโฉนดปลอมทำการรื้อถอนสวนหย่อนใจโดยทันที ในขณะเดียวกัน ท่านก็ออกเดินทางไปขอเข้าเฝ้าองค์พระมหาจักรพรรดิ์ เพื่อถวายบัีงคมทูลคดีโฉนดปลอมแด่พระองค์ โดย มิสนใจต่อการทักท้วงโต้แย้งแข็งขันจากตระกูลทรงอำนาจอิทธิพล ต่อมาอีกมิช้านาน การรื้อถอนสวนหย่อนใจนั้นก็เกิดขึ้น ในที่สุด ปัญหาน้ำท่วมก็จบสิ้นไป

        ท่านเปาเป็นผู้มีระเีบียบวินัยเข้มแข็ง กอปรด้วยความซื่อตรงและเที่ยงธรรมต่อทุกคน ครั้งหนึ่ง ลุงของท่านเปาได้ฝ่าฝืนกฎหมายและถูกผู้เสียหายฟ้องร้องในศาล ท่านเปาออกคำสั่งเรียกลุงผู้ไม่เคารพกฎหมายมาสอบสวนที่ศาล แล้วให้เจ้าพนักงานศาลใช้ไม้หวายฟาดตีบนตัวคุณลุงของตน 100 ครั้ง เพื่อลงโทษให้เข็ดหลาบ

        ท่านเปาเข้มงวดกวดขัีนกับครอบครัวตนเองอยู่เสมอ แม้จะอยู่ในตำแหน่งข้าราชการชั้นสูง ท่านเปาก็ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเรียบง่าย ลูกๆก็รู้จักประหยัดมัธยัสถ์ ใช้แต่เสื้อผ้าเรียบง่าย ยกเว้นกรณีไปเยี่ยมเพื่อนฝูงหรืองานสมาคมสังสรรค์

        เมื่อไม่มี จิตนิยมในวัตถุเงินทองท่านเปาก็ใช้ชีวิตแบบพอเพียงเรียบง่าย ไม่ห่วงใยกับการที่จะต้องพลัดพรากจากสรรพสิ่งนอกกาย เพราะมี จิตนิยมในคุณธรรมที่เสริมสร้างความหมายแท้จริงให้กับชีวิต ด้วยการยืนหยัดพิทักษ์กฎหมายบ้านเมืองอย่างจริงจัง จนกลายเป็นวีรบุรุษผู้ปราบปรามข้าราชการกังฉินและตระกูลทรงอำนาจอิทธิพลที่สุมหัวกันละเมิดสิทธิ์ เบียดเบียนราษฏรทั่วไป ราวกับว่าบ้านเมืองนี้เป็น เมืองเถื่อนและ เมืองขึ้นต่อ เงินทองกับอำนาจมืดของข้าฯคนเดียว

        เมื่อย่างเข้าวัยชรา ท่านเปาตั้งกฎเหล็กไว้กับลูกๆ ว่า หากลูกๆเข้ารับราชการแล้วฝ่าฝืนกฎหมายหรือฉ้อ ราษฏร์บังหลวง พ่อจักไม่อนุญาตให้กลับไปอยู่บ้านเกิด และไม่ให้ใช้สุสานของวงศ์ตระกูลเป็นที่ฝังศพตัวเอง ความเป็นพ่อลูกจักขาดออกจากกันทัีนที

        ในที่สุด ท่านเปาก็ถึงแก่อนิจกรรม ลูกๆต่างจำเริญรอยตามพ่อ สามารถสอบผ่านข้อสอบคัดเลือกข้าราชการ มีโอกาสเข้ารับราชการ สะท้อนให้เห็น การมีคุณธรรมทั้งหลายของผู้เป็นพ่อ และได้รับคำชื่นชมโดยทั่วกันว่า เป็นข้าราชการที่กอปรด้วยคุณธรรมแห่งความซื่อสัตย์และความเที่ยงธรรมเยี่ยงท่านเปา แบบ ผลไม้ตกไม่ไกลต้น

        จากการอุทิศตนอย่างไม่ย่อท้อต่อการธำรงรักษาความศักดิ์สิทธ์ของกฎหมายบ้านเมืองไว้ ท่านเปาได้กลายเป็นอนุสรณ์แห่งความยุติธรรมและการลงโทษเพื่อความยุติธรรมในหมู่ชนชาติภูมิภาคตะวันออกไกล     

เป็นที่ประจักษ์ชัดเมื่อพันกว่าปีมาแล้วว่า ตัวบทกฎหมายก็คือเสือกระดาษดีๆนั่นเอง หากปราศจากผู้ พิพากษาตงฉินผู้กอปรด้วยคุณธรรมเยี่ยงท่านเปา


เห็นได้ว่า ท่านเปาทำงานด้วย อิทธิบาทสี่คือ มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสาอย่างแท้จริง.